ยินดีต้อนรับสู่ SLOW SET TRADE

Tuesday, December 22, 2009

ก้าวแรกสู่การลงทุนแบบ VI : ลงทุนอย่างจอห์น เนฟฟ์

ออกตัวไว้ก่อนว่าตัวเองไม่ใช่เซียน VI... เป็นเพียงผู้สนใจศึกษาการลงทุนในรูปแบบนี้ และพอจะมีประสบการณ์กับการลงทุนในรูปแบบนี้อยู่บ้าง



โดยปกติเวลามีเพื่อนนลท. หน้าใหม่ มาขอคำปรึกษาเรื่องหลักการลงทุน ผมก็มักจะแนะนำให้ศึกษาจากตำราของทั้งฟากเทคนิค และฟากแวลู จากนั้นให้ลองเทรดดูว่าระบบการเทรดแบบไหนที่เหมาะกับตัวเรามากที่สุด


แต่ปัญหาที่ผมได้พบเสมอๆ ก็คือ เพื่อนนลท.หน้าใหม่เหล่านั้น มักจะกลับมาบ่นอยู่เสมอๆ ว่า การลงทุนแบบแวลูนั้นยาก และต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในหลายๆ เรื่อง ทั้งการมองธุรกิจ บัญชี เศรษฐกิจมหภาค ทำให้เพื่อนนลท.หน้าใหม่เหล่านั้น มักจะหมดความพยายามในการที่จะศึกษา และทำความเข้าใจ เกี่ยวกับการลงทุนในแนวนี้


ที่จริง”หลักการ”ของการลงทุนแบบแวลูนั้นง่าย เพียงแค่ท่านซื้อกิจการของบริษัทในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าของมัน เท่านี้ก็นับเป็นการลงทุนแบบแวลูแล้ว


แต่จากหลักการข้างต้น ก็ได้มีการพัฒนา”แนวทาง”ในการประยุกต์หลักการข้างต้นมาอีกมากมาย


แนวทางหนึ่ง ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นกระแสหลักของการลงทุนแบบแวลูในปัจจุบัน คือแนวทางของ วอร์เรน บัฟเฟต์ ที่เน้น ในเรื่องของคุณภาพของกิจการ... เพราะบัฟเฟต์เชื่อว่า กิจการที่มียอดเยี่ยม มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยืน และมีผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถร่วมกับมีธรรมาภิบาลที่ดี ย่อมต่อยอดสะสม”มูลค่า”ของกิจการให้เพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ ได้อย่างไม่มีขีดกำจัด


คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าแนวทางของบัฟเฟต์นั้นยอดเยี่ยมเพียงใด แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาของแนวทางการลงทุนอย่างบัฟเฟต์ จำเป็นต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจในหลายเรื่องๆ รวมทั้งการมองธุรกิจในระยะยาวอย่างแม่นยำ ซึ่งก็มักจะเป็นปัญหากับนลท.หน้าใหม่ ดังที่ผมเรียนไว้ข้างต้น


ผมเลยมาลองคิดดูว่า มีแนวทางการลงทุนแบบแวลู ที่ลดความซับซ้อน และไม่ต้องอาศัยความเข้าใจในศาสตร์ทางธุรกิจมากมายอะไรขนาดนั้นไหม เพื่อที่จะเป็นก้าวแรกของนลท. ที่สนใจการลงทุนแบบแวลู


เมื่อนึกถึงแนวทางการลงทุนแบบแวลู ที่ไม่ต้องสนใจความเป็นไปทางธุรกิจ หรือต้องมาสนใจงบการเงินมากมายนัก ผมนึกถึงการลงทุนแบบเบน เกรแฮม ( ซึ่งเป็นอาจารย์ของบัฟเฟต์อีกที ) และ จอห์น เนฟ


แต่อย่างไรก็ดีการลงทุนแบบเกรแฮม ออกจะสุดโต่งไปสักหน่อย ( ในทัศนะของผมเอง ) เนื่องจากเกรแฮม แทบจะไม่ให้ ความสำคัญกับตัวธุรกิจเลย ซึ่งเกรแฮมเองก็ยอมรับจุดบอดจุดนี้ในกลยุทธ์ของตัวเอง เกรแฮมจึงพยายามกระจายการถือครองหุ้นในหลายๆ ตัวในพอร์ตโฟลิโอ รวมทั้งกำจัดหุ้น”ถูกเรื้อรัง” ด้วยการขายหุ้นที่ถือครองแล้วราคาไม่ไปไหนเกินสองปี


ผมจึงสนใจการลงทุนในแบบของเนฟฟ์มากกว่า เพราะแม้เนฟฟ์จะเน้นที่ราคาของหุ้นที่ถูกมากๆ เช่นเดียวกับเกรแฮม แต่เนฟฟ์ก็ยังให้ความสำคัญกับการเติบโตของธุรกิจ

0 comments:

Post a Comment

คลิ๊กเพื่อชม Mini Mp4